วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Video Conference

 6. Video Conference
       
 Video Conference   วิดีโอมีลักษณะการส่งสัญญาณภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง สัญญาณภาพที่ส่งมีลักษณะเป็น เฟรม (หนึ่งเฟรมเท่ากับหนึ่งภาพ) ในวินาทีหนึ่งต้องทำให้ได้ มากกว่า 17 เฟรม จึงจะเห็นเป็นภาพต่อเนื่อง ระบบโทรทัศน์ในประเทศไทยส่ง 25 เฟรมต่อวินาที ส่วนระบบ NTSC ที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา ส่ง 30 เฟรมต่อวินาที
หัวใจในการทำงานของระบบ Video Conference  คือ Codec เป็นคำย่อมาจาก Code และ Decode คือ การเข้ารหัสและการถอดรหัสจากข้อมูลภาพที่มีจำนวนเส้น 625 เส้น 25 เฟรมต่อวินาที (กรณีสัญญาณ PAL ) เมื่อแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลแล้วจะต้องเปลี่ยนกลับเป็น Pixel หรือจุดสี  ตามมาตรฐาน CCITT H.261 ซึ่งเป็นมาตรฐานสำคัญที่กำหนดในเรื่องการเข้ารหัส กำหนดจำนวนเส้นใช้เพียง 288 เส้น แต่ละ เส้นมีความละเอียด 352 pixel นั่นหมายถึงจะมีความละเอียดเท่ากับ 352×288 pixel เรียกฟอร์แมต การแสดงผลนี้ว่า Common Intermediate format และยังยอมให้ใช้ความละเอียดแบบหนึ่งในสี่ คือลดจำนวนเส้นเหลือ 144 เส้น และ pixel หรือ 176 pixel ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของจอภาพ ถ้าใช้จอภาพขนาดเล็ก จำนวน pixel ก็ลดลงไปได้
ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่มีการรับส่งข้อมูลเป็นแพ็กเก็ต การส่งวิดีโอผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ย่อมเป็นไปได้ แต่เนื่องจากการส่งแพ็กเก็ตไอพีเป็นแบบดาต้าแกรม ดังนั้นจึงไม่รับรองช่วงระยะเวลาการเดินทางของข้อมูล เทคนิคการใช้วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ จึงต้องมีการสร้างบัฟเฟอร์และแก้ปัญหาที่แต่ละแพ็กเก็ตมายังปลายทางไม่พร้อมกัน เรียกปัญหานี้ว่า jitter
รู้จักกับ Video Conference
การประชุมทางไกล (Videoconferencing) เป็นเทคโนโลยีรูปแบบหนึ่งของความร่วมมือองค์กร
ในการใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารระยะไกล ที่ลดเวลา ลดต้นทุนงบประมาณ การสื่อสารในปัจจุบัน
ช่วยให้การดำเนินชีวิตคนเรามีความสะดวก สบายมากขึ้น ปัจจุบันผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ ที่มีเครือข่าย
อยู่ทั่วประเทศสามารถประชุมกันได้ โดยไม่ต้องมาเข้าห้องประชุมที่เดียวกัน
ความหมาย
การประชุมทางไกล (Videoconference) คือ การนำเทคโนโลยีสาขาต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ กล้องโทรทัศน์
และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เป็นการประชุมที่ผู้เข้าร่วมประชุมอยู่กันคนละสถานที่ ไม่จำกัดระยะทาง
สามารถประชุมร่วมกันและมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ การส่งข้อความและภาพสามารถส่งได้ทั้งทางสายโทรศัพท์
คลื่นไมโครเวฟ สายไฟเบอร์ออฟติกของระบบเครือข่าย และการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม โดยการบีบอัดภาพ
เสียงและข้อความ กราฟิกต่างๆ ไปยังสถานที่ประชุมต่างๆ ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเห็นภาพและข้อความต่างๆ
เพื่ออภิปรายร่วมกันได้เพื่อสนับสนุนในการประชุมให้มีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
Video conference หรือการประชุมทางไกล ถูกออกแบบมาเพื่อให้คนหรือกลุ่ม คน ซึ่งอยู่กันคนละสถานที่
สามารถติดต่อกันได้ทั้งภาพและเสียง โดย ผ่านทางจอภาพซึ่งอาจเป็นคอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ ผู้ชมที่ฝั่งหนึ่ง
จะเห็นภาพของอีกฝั่งหนึ่งปรากฏอยู่บนจอโทรทัศน์ของ ตัวเองและ ภาพของตัวเองก็จะไปปรากฏยังโทรทัศน์
ของฝั่งตรงข้ามเช่นเดียวกัน คุณภาพของภาพและเสียงที่ได้จะขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางสื่อสารที่ ใช้เชื่อมต่อ
ระหว่างทั้งสองฝั่งอุปกรณ์ที่ต้องมีในระบบประชุมทางไกลนี้ ก็ ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์, ลำโพง,
ไมโครโฟน, กล้อง และอุปกรณ์ Codec ซึ่งเป็นตัวเข้ารหัสสัญญาณภาพและเสียงที่ได้จากกล้องและไมโครโฟน
ส่ง ผ่านเส้นทางสื่อสารไปยังอีกฝั่งหนึ่ง รวมถึงถอดรหัสสัญญาณที่ได้รับ มาอีกฝั่งให้กลับเป็นสัญญาณภาพและ
เสียงแสดงบนจอและลำโพงนั่นเองเส้นทางสื่อสารขนาด 384 Kbps ขึ้นไปก็สามารถให้คุณภาพภาพในระดับที่
ยอมรับได้ โดยอาจใช้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ISDN หรือ ATM เป็นต้น ข้อดีของการประชุมทางไกล คือ
สามารถให้ความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกัน ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งจะประหยัดทั้งเวลาและ
ค่าใช้จ่าย และยังช่วยแก้ปัญหาจราจรได้ทางหนึ่ง
ลักษณะการใช้งาน
ระบบ Video Conference นี้ จะช่วยให้งานประชุมหรืองานการเรียน การสอนที่อยู่ต่างสถานที่กันในหลายจุด
ได้มาประชุมเสมือนอยู่ในห้อง เดียวกัน มีประธานในการประชุม สามารถ share งานต่างๆ ในแต่ละจุดให้เห็น
เหมือนกัน เสนอผ่านความเห็นต่างๆ ได้ เช่น การ Share Whiteboard, PowerPoint, Worksheet เป็นต้น
งานประชุมหรืองานการเรียนการสอน สามารถดำเนินไปได้ อย่างสะดวกรวดเร็ว ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย
รวมทั้งเป็นการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด
อุปกรณ์ในระบบ Video Conference มีอุปกรณ์เบื้องต้น ดังนี้
1. ชุดอุปกรณ์ Codec ระบบบีบอัดข้อมูลและรับส่ง จัดการระบบการประชุม
2. กล้องจับภาพ ปกติจะมาพร้อมชุดอุปกรณ์ Codec
3. กล้องจับภาพ (เสริม) เป็นชนิดกล้องวิดีโอ เช่น กล้อง Mini-DV ใช้ในกรณีของการประชุมใหญ่ๆ และพื้นที่
ห้องประชุมคับแคบ จำเป็นต้องเพิ่มกล้องช่วยจับภาพ
4.อุปกรณ์นำเสนอต่างๆ เช่น ไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องนำเสนอวัตถุ 3 มิติ เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เป็นต้น
5.จอรับภาพ โดยทั่วไปจะเป็นจอฉากใหญ่ที่รับภาพจาก Projector และอาจเพิ่มได้ตามขนาดห้อง หรือขนาด
ความจุผู้เข้าประชุม ซึ่งเพิ่มเป็นถึง 4 จอ คือ จอภาพสำหรับนำเสนอ, จอผู้พูดฝั่ง Near, จอผู้พูดฝั่ง Far และ
จอบันทึกการประชุม
6.ระบบเครื่องเสียงชุดประชุม ซึ่งมีทั้งเครื่องควบคุม เครื่องขยายเสียง เครื่องผสมสัญญาณเสียง ลำโพงและ
ไมโครโฟนอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ จะใช้งบประมาณเริ่มต้นเพียง 200,000 – 300,000 บาท (สำหรับระบบ
ขนาดเล็ก ไม่ใหญ่มากนัก) ขึ้นอยู่กับ ระดับคุณภาพของอุปกรณ์ หลักเบื้องต้นการติดตั้ง มีดังนี้
1.เชื่อมต่อสัญญาณภาพและเสียงอุปกรณ์ทั้งหมดให้เรียบร้อย ได้แก่ Codec-Network-กล้องเสริม-จอ
โทรทัศน์-Projector-เครื่องนำเสนอ-Computer-เครื่องบันทึก-ระบบเสียงชุดประชุม (ตามความต้องการใช้งาน)
2.เชื่อมต่อ Codec เข้ากับระบบ Network (ขั้นตอนนี้ต้องประสานกับฝ่าย Network เพื่อ Config IP ให้กับ
Codec)
3.ทดสอบการแสดงผลของภาพและเสียงในฝั่งของตนเองให้ถูกต้อง เมื่อติดตั้งและทดสอบเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ ทำ
การติดต่อกับอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อทำการทดสอบ Conference ระหว่างวิทยาเขตต่อไปหลักในการจัดวางตำแหน่ง
อุปกรณ์ระบบการประชุมทางไกล
1.กล้องจะต้องวางในตำแหน่งท้ายโต๊ะประชุม และอยู่กึ่งกลางห้องประชุม ยึดหลักให้สามารถจับภาพผู้เข้า
ประชุมได้ทุกคน แต่หากมีปัญหาเรื่องพื้นที่ ไม่สามารถวางตำแหน่งดังกล่าวได้ แก้ไขโดยเพิ่มกล้องเสริม และ
เปลี่ยนตำแหน่งจับภาพกล้องละด้าน เช่น กล้องหลักวางด้านซ้าย กล้องเสริมวางด้านขวา จำไว้ว่ากล้อง 2 ตัว
ต้องแบ่งหน้าที่อิสระจากกัน จับภาพด้านของตัวเองเท่านั้น
2.ลำโพงเสียง กรณีเป็นชุดประชุม ลำโพงจะติดที่ไมโครโฟน ไม่สามารถเปลี่ยนตำแหน่งได้ เพราะจะอยู่บนโต๊ะ
(การแก้ปัญหาเสียงหอน ใช้เทคนิคการปรับแต่งเสียง) แต่กรณีเป็นระบบเสียงแยกอิสระ ลำโพง ควรอยู่ไกล
ตำแหน่งไมค์ให้มากที่สุด และอยู่สูง หันทิศทางให้กระจายเสียงได้ทั่วห้องประชุม เพื่อแก้ปัญหาทางเสียงได้ดี
ที่สุด
3.อุปกรณ์เครื่องนำเสนอต่างๆ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ เครื่องทึบแสง เป็นต้น เหล่านี้ไม่ค่อยมีปัญหาจะจัดตาม
หลักการจัดห้องประชุมอยู่แล้ว
4.อุปกรณ์ชุดควบคุมเสียงและระบบบันทึกภาพ ควรอยู่ด้วยกัน เพื่อสามารถควบคุมได้ทันท่วงที
ขั้นตอนการทำงานของระบบเริ่มจากการแปลงสัญญาณภาพและเสียงจากระบบอะนาล็อกให้เป็นดิจิตอลแล้ว
ส่งไปถึงผู้รับ จากนั้นอุปกรณ์สื่อสารของผู้รับก็จะแปลงสัญญาณดิจิตอลกลับมาเป็นภาพและเสียงให้ผู้ชมเห็น
และได้ยิน สำหรับภาพที่เห็นนั้นอาจติดตั้งให้ภาพปรากฏบนจอรับภาพในห้องประชุมก็ได้ หรืออาจสื่อสารผ่าน
คอมพิวเตอร์ได้ทั้งคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะและกระเป๋าหิ้ว ซึ่งทำให้การประชุมสื่อสารระหว่างบุคคลมีความ
สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
รู้จักกับ Video Conference
การประชุมทางไกล (Videoconferencing) เป็นเทคโนโลยีรูปแบบหนึ่งของความร่วมมือองค์กร
ในการใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารระยะไกล ที่ลดเวลา ลดต้นทุนงบประมาณ การสื่อสารในปัจจุบัน
ช่วยให้การดำเนินชีวิตคนเรามีความสะดวก สบายมากขึ้น ปัจจุบันผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ ที่มีเครือข่าย
อยู่ทั่วประเทศสามารถประชุมกันได้ โดยไม่ต้องมาเข้าห้องประชุมที่เดียวกัน

โปรแกมที่ใช้เช่น Skype เพื่อประชุมกลุ่ม Video Conferenc

Skype  คืออะไร ?
Skype  (สไคป์) คือ โปรแกรมที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันระหว่างผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยข้อความพร้อมเสียงและภาพจากกล้อง  Webcam โดยจะเป็นการสื่อสารกันแบบ Real Time ลักษณะจะคล้าย Windows  Live Messenger หรือที่เราเรียก MSN  แต่จะมีข้อดีเหนือกว่ามากในเรื่องของคุณภาพของภาพ และเสียง ซึ่ง Skype  จะให้สัญญาณที่คมชัดกว่าอย่างเห็นได้ชัด โดยส่วนใหญ่แล้ว Skype จะนำมาใช้ทำ  Video Conference เพื่อสนทนากันแบบตัวต่อตัว  หรือประชุมสายพร้อมกันหลายคนผ่านอิน เทอร์เน็ตได้ทั่วโลก  โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพียงคุณมีสัญญาณอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว  การเชื่อมต่อจะเป็นแบบ peer-to-peer voice over Internet protocol (VoIP)  จุดเด่นของ Skype คือ การใช้งานเป็นโทรศัพท์  ที่โทรติดต่อผู้อื่นที่ไม่ได้ใช้ Skype ซึ่งโทรไปได้ทั้งเบอร์มือถือ และ  เบอร์พื้นฐานทั่วไปได้ทั่วโลก โดยเสียค่าใช้จ่ายเป็นแบบเหมาจ่าย เป็นเดือน  โดยสามารถสั่งซื้อได้โดยตรงกับเว็บ www.skype.com โดยกดปุ่ม BuyCredit ด้านบนขวาของหน้าเว็บแล้วทำการ Login ด้วย Username และ Password  เดียวกันกับที่เราใช้งานโปรแกรม Skype  เพื่อเข้าสู่การสั่งซื้อแพ็คเกจ โดยการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต

ข่าวล่าสุดจากทีมผู้พัฒนา Skype ได้ออกมาเปิดตัวโปรแกรมสนทนาฟรียอดฮิต Skype 5.0 เวอร์ชั่นเบต้าสำหรับระบบปฏิบัติการ Windows โดยจะเปลี่ยนการสนทนาในระบบ Video Call แบบเดิมๆด้วยบริการแบบใหม่ คือการสนทนาด้วยระบบ Video Call แบบกลุ่ม หรือ Group Video Call ซึ่งจะคล้ายๆกับการประชุมผ่านเครือข่ายหรือVideo Conference (ดูรายละเอียดที่นี่)
Video Conference
สามารถประยุกต์ใช้ ประชุมกลุ่มย่อยได้หลายคน ไม่ว่าจะในครอบครัว กลุ่มเพื่อน กลุ่มธุรกิจก็ได้
หรือค้นหาใน google ก็ได้

การใช้งานบน Skype

การสื่อสารบนระบบเครือข่ายของ Skype มีการแสดงสถานะและแบ่งลักษณะการสื่อสารได้หลากหลายแบบ ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น และเข้าใจกันได้มากขึ้น ดังนั้น Skype เอง จึงมีการนำสัญลักษณ์มาแทนความหมายต่าง ๆ ซึ่งดีกว่าคำพูดใดๆ อีกจริงไมครับ ประมาณว่า รูปภาพแทนคำตอบได้ล้านคำเลยทีเดียว? พูดไป เดี๋ยวจะเลยเถิดไปมากกว่านี้ มาดูกันดีกว่าว่า แต่ละสัญลักษณ์ของ Skype มีความหมายอะไรบ้าง
เรียนรู้การใช้งาน Skype ในอีกระดับหนึ่ง
 การติดตั้งโปรแกรม skype
1. ดาวโหลดโปรแกรม Skype เพื่อทำการติดตั้ง [กดที่นี่]จะมีหน้าต่างขึ้นมา
2. กดปุ่ม RUN เครื่องจะทำการดาวโหลดโปรแกรม พอโหลดเสร็จ จะมีหน้าต่างขึ้นมา
3. กดปุ่ม RUN อีกครั้งเพื่อทำการติดตั้งโปรแกรม
4. ช่องหมายเลข 1 เลือกภาษา
5. ช่องหมายเลข 2 คลิ๊คเลือก
6. ช่องหมายเลข 3 กดปุ่ม Install เครื่องจะดำเนินการติดตั้งจนเสร็จ
ทำการลงทะเบียนเพื่อใช้งาน
7. ป้อนชื่อ
8. ตั้งชื่อที่ใช้เรียกในโปรแกรม Skype
9. ตั้งรหัสผ่าน
9. ตั้งรหัสผ่าน อีกคร้ง
10. คลิ๊คช่องสี่เหลี่ยม
11. กดปุ่ม Next จะมีหน้าต่างขึ้นมาตามภาพ
12. ใส่ชื่อ อีเมล์
13. ใส่ชื่อจังหวัด
14. คลิ๊คช่องสี่เหลี่ยม เพื่อทำการล็อคอินพร้อมกับเปิดโปรแกรม [สำคัญ จะได้ไม่ขาดการติดต่อจากผู้อื่น]
15. กดปุ่ม Sign In

ติดตั้งโปรแกรม Skype
หลังจากที่ผู้ใช้งานทำการดาวน์โหลดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะทำการติดตั้งก็อย่าเพิ่งปิดอินเทอร์เน็ตนะครับ เพราะในขั้นตอนของการติดตั้งจำเป็นต้องมีการ Register ด้วย เมื่อพร้อมแล้วเราก็ทำการติดตั้งกันได้เลยครับ โดยดับเบิ้ลคลิกไปยังไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการติดตั้งดังต่อไปนี้
  1. ในหน้าแรกเป็นส่วนของการเลือกภาษา (หมายถึงรูปลักษณ์ของโปรแกรมนะครับ หรือที่เรียกกันว่า Interface นั่นแหละ) ให้ผู้ใช้งานคลิกที่ปุ่ม OK
2. ในหน้าถัดมาเป็นคำกล่าวต้อนรับเข้าสู่การใช้งาน ให้ผู้ใช้งานคลิกทีปุ่ม Next ครบ
3. ในหน้านี้จะว่าด้วยเรื่องเงื่อนไขและข้อตกลงว่าด้วยเรื่องของการใช้งาน ให้ผู้ใช้งานคลิกเลือก I accept the agreement. จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Next ครับ
4. ในขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมจะระบุตำแหน่งในการติดตั้ง โดยปกติแล้วจะระบุตำแหน่งไปยัง C:\Program Files\Skype\Phone ให้ผู้ใช้งานคลิกปุ่ม Next
5. ในหน้าหน้านี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะเลือกข้อกำหนดได้ต่างๆ หลังจากติดตั้งโปแกรมเสร็จ ดังนี้
- Create a desktop icon. หากเลือกก็จะเป็นการสร้างไอคอนสำหรับเข้าสู่การใช้งานบนเดสทอป
- Create a Quick Launch icon จะเป็นการสร้างไอคอนบนส่วนของ Quick launch
- Start Skype when the computer starts เมื่อเข้าสู่โปรแกรมวินโดว์ ก็จะกำหนดให้ Skype เปิดใช้งานทันที
- Associate Skype with “callto://” tags อนุญาตให้ Skype เรียกใช้ Tags “callto://” ได้ ให้ผู้ใช้งานเลือกตามความเหมาะสมหรือจะคลิก Next ผ่านไปก็ได้ครับ
6. ในหน้าสุดท้ายให้ผู้ใช้งานคลิกที่ปุ่ม Finish ครับ
7. ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการ Reregister ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตให้เรียบร้อยก่อนนะครับ สำหรับใครที่เคย Register มาก่อนแล้วก็ให้คลิกเลือก I already have a Skype account. ได้เลยแต่ถ้าเพิ่งจะเริ่มใช้งานก็ให้คลิกเลือก I would like to create a new Skype account. ครับ
8. ในหน้า Register ให้ผู้ใช้งานใส่รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ใช้งานให้เรียบร้อย และที่จะข้ามไม่ได้เลยก็คือ ผู้ใช้งานจะต้องยอมรับเงื่อนไขที่ว่าด้วยเรื่องของการใช้งานโปรแกรมโดยเลือก Yes, I have read and I accept Skyper End User Licence Agreement จากนั้นคลิกปุ่ม Finish ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
9. และเพื่อเป็นการยืนยันการมีตัวตนในการใช้บริการ Skype ผู้ใช้งานจะต้องตรวจเช็ครายละเอียดเกี่ยวกับตัวเราก่อนนะครับว่าถูกต้อง หรือไม่ ในส่วนของการแสดงรูปนั้นตอนนี้ยังไม่สามารถใช้งานได้นะครับคงต้องรอในเวอร์ชั่นถัดไปเมื่อทำการลงทะเบียนเรียบร้อย ก็เริ่มใช้งานได้เลย
สรุปและบทบาท
การประชุมทางไกล การติดต่อสื่อสารต่างๆ ในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างล้ำหน้า ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลต่างๆที่
ทันสมัยรวดเร็วตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจประเภทต่างๆได้ และการติดต่อสื่อสารประเภทหนึ่งที่กำลัง
ได้รับความนิยมก็คือ การประชุมทางไกล โดยอาศัยอุปกรณ์สื่อสารสมัยใหม่ การประชุมทางไกลโดยการจัด
อุปกรณ์ให้ผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งอยู่คนละสถานที่กันสามารถประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้โดย
ใช้อุปกรณ์ สื่อสาร เราเรียกการประชุมแบบนี้ว่า Teleconference ในกรณีที่การประชุมนั้นมีอุปกรณ์ที่ทำให้
เห็นภาพ และได้ยินเสียงของผู้เข้าร่วมประชุมไปพร้อมกันด้วยเราเรียก Video Conference มีอุปกรณ์ที่สำคัญ
คือ กล้อง ไมโครโฟน และจอรับภาพ
สำหรับประเทศไทยได้มีหน่วยงานทั้งภาพรัฐและเอกชนที่ให้บริการในลักษณะ Video Conference เช่น
การสื่อสารแห่งประเทศไทย โรงแรมบางแห่งและบริษัทผู้ประกอบกิจการด้านโทรคมนาคม ซึ่งจะทำให้บริการ
ประชุมทางไกลทั้งในประเทศและระหว่างประเทศโดยใช้บริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล หรือ ISDN ซึ่งเป็น
เครือข่ายที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร และคอมพิวเตอร์ที่ทำงานกันคนละระบบ
สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกรวดเร็วขึ้น การประชุมแบบจอภาพ Video Conference
ผ่านระบบเครือข่ายISDN จึงถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ ทันสมัย สามารถติดต่อสื่อสารทางไกลกับอีกซีกโลกหนึ่งใน
ลักษณะมัลติมีเดียได้อย่างครบถ้วนในเวลาเดียว จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและพัฒนาธุรกิจให้รุดหน้าได้เร็ว
การกระจายข้อมูล การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ บริการแบบโต้ตอบในเวลาเดียวกัน
บริการแบบโต้ตอบในเวลาเดียวกัน (synchronous) คล้ายกับบริการแบบถ่ายทอดสารสนเทศ ที่กำหนดให้ผู้
สื่อสารต้องส่งและรับสารในเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ตามรูปแบบของบริการนี้ การสื่อสารจะเป็นแบบสมมาตร
(symmetric)หรือสามารถโต้ตอบกันได้ (interactive) นั่นเอง จะว่าไปแล้ว การสื่อสารแบบนี้คล้ายกับการ
สื่อสารด้วยการสนทนาในอดีต หากแต่ไม่มีข้อจำกัดด้านระยะทางเท่านั้น เราจึงมักพบคำที่ชี้ถึง "ระยะทางไกล"
ในบริการประเภทนี้ เช่น การสาธารณสุขวิถีไกล (telemedicine) การศึกษาวิถีไกล (remote learning)
หรือ โทรสัมมนา (teleconference) เป็นต้น

ที่มา : http://nooteab.wordpress.com/2012/08/17/video-conference-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น