วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
Blog
3. Blog
Blog มาจากศัพท์คำเต็มว่า WeBlog คือ เว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ที่เจ้าของ หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา นอกจากนี้แล้ว Blog ยังเป็นพื้นที่ให้ Blogger โพสต์ข้อมูล หรือใส่ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเป็นวิทยาทานให้คนอื่นๆ เช่น คุณหมอ เปิดบล็อกแนะนำเรื่องสุขภาพ เป็นต้น การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ ภายในเว็บบล็อก จะมีระบบบริหารจัดการเว็บไซต์พื้นฐานให้แล้ว โดยการสร้างเครื่องมือสำหรับ เขียนเรื่อง โพสรูป จัดหมวดหมู่ และลูกเล่นอื่นๆ ที่ผู้จัดทำพยายามสร้างเพื่อดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก ให้เข้าไปใช้บริการ เสน่ห์ของบล็อกอยู่ที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถโต้ตอบกันได้ (Interactive) โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายที่เรื่องนั้นๆ ข้อแตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์ทั่วไป คือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที
ในปัจจุบันบล็อก ถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ฯลฯ และกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยขณะนี้ได้มีผู้ให้บริการบล็อกมากมาย ทั้งแบบให้บริการฟรี และเสียค่าใช้จ่าย ตัวอย่างผู้ให้บริการ Blog เช่น Bloggang, exteen หรือ BlogKa หรือต่างประเทศเช่น Blogger, Wordpress, MySpace
บล็อกซอฟต์แวร์ หรือ บล็อกแวร์ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต ในลักษณะของระบบจัดการเนื้อหาเว็บ ที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และผู้เขียนหรือดูแลบล็อกจะแยกจากกันต่างหาก ส่งผลให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ในด้าน HTML หรือการทำเว็บไซต์แต่อย่างใด ทำให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้เวลาส่วนใหญ่ในการ บริหารจัดการ เพิ่มเติม ข้อมูลและสารสนเทศแทนได้ นอกจากนี้บล็อกซอฟต์แวร์จะสนับสนุน ระบบ WYSIWYG ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเขียน
Blog (มาจากศัพท์คำว่า Weblog) เป็นเว็บไซต์รูปแบบหนึ่ง ที่มีระบบจัดการให้เราสามารถเขียนเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว ข่าว หรือบทความเฉพาะด้านต่างๆ ได้อย่างสะดวก (ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่ต้องทำหน้าเว็บเพจทีละหน้า และทำลิงค์เชื่อมโยงแต่ละหน้าเอง) โดยเนื้อหาที่เราเขียนแต่ละครั้ง จะถูกเรียงลำดับตามเวลา เรื่องที่เราเขียนล่าสุดจะถูกแสดงอยู่ด้านบนสุดของหน้า Blog เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมสามารถติดตามอ่านเรื่องราวที่เรา Update ใหม่ได้ง่าย
.
Blog อาจเขียนโดยคนเพียงคนเดียว หรือเป็นกลุ่มช่วยกันเขียนก็ได้ ผู้ที่เขียน Blog หรือเจ้าของ Blog เรียกว่า Blogger
เรื่องหรือบทความที่เขียนมักเป็นเรื่องเจาะจงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่ก็อาจจะมีเรื่องอื่นปะปนบ้าง แล้วแต่เจ้าของ Blog แต่ทางที่ดีควรจะให้ผู้อ่านที่เข้ามาทราบว่า Blog ของเรานั้นเน้นเนื้อหาเรื่องใด ถ้าเรื่องที่เขียนใน Blog มีความหลากหลาย เรายังสามารถจัดหมวดหมู่ให้กับเรื่องที่เราเขียนได้อีกด้วยค่ะ
อย่างที่ enjoyday ก็เป็น Blog ที่ผู้เขียนตั้งใจเขียนเรื่องเกี่ยวกับการทำเว็บไซต์เป็นหลัก แต่ก็อดไม่ได้ที่จะนำเสนอเรื่องอื่นๆ ด้วย
.
นอกจากจะใช้ Blog เพื่อเขียนเรื่องหรือบทความต่างๆ แล้ว เรายังสามารถใช้ Blog เพื่อนำเสนอผลงานก็ได้ ในปัจจุบันบางบริษัทก็หันมาใช้ Blog ทำเป็นเว็บไซต์ของบริษัท เพื่อลดความเป็นทางการลง
.
จุดเด่นของ Blog คือ การที่เราสามารถแสดงความคิดเห็นของเราใส่ในบทความที่เราเขียน และเปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้แสดงความคิดเห็น หรือติชม (Comment) ได้
ทำให้เจ้าของ Blog สามารถรับรู้ได้ว่าคนอ่านชอบเรื่องราวหรือบทความที่เขียนไปหรือไม่
.
เริ่มต้นทำ Blog ได้อย่างไร?
เราสามารถที่จะทำ Blog ฟรีได้ โดยขอใช้บริการจากเว็บไซต์ผู้ให้บริการ Blog ต่างๆ โดยต้องสมัครเป็นสมาชิกก่อน แล้วผู้ให้บริการจะแนะนำวิธีการใช้งานให้เราเองค่ะ
ผู้ให้บริการ Blog ของไทยที่เป็นที่นิยมได้แก่
http://www.bloggang.com
http://www.exteen.com
http://blog.sanook.com
http://www.freeseoblogs.com
ผู้ให้บริการ Blog ของต่างประเทศที่เป็นที่นิยม ได้แก่
http://www.blogger.com (อ่านคำแนะนำได้ที่ blog นี้ค่ะ http://2talkbig.blogspot.com)
http://www.wordpress.com
http://spaces.msn.com
แต่ถ้าเราต้องการทำ Blog เป็นของตัวเอง โดยไม่ใช้บริการฟรี เราก็สามารถทำได้โดยติดตั้งตัวจัดการ Blog บนพื้นที่เว็บไซต์ของเรา โดยใช้ WordPress ค่ะ
ที่มา : http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2080-blog-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html
http://www.enjoyday.net/what-is-blog.html
เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น